วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561




บทเรียนใหม่ของสังคมข้อมูล






ชวน หวังสุนทรชัย
กิริฎา เภาพิจิตร
ในยุคที่ข้อมูลสามารถสร้างโอกาสมหาศาลให้กับผู้ครอบครอง ไม่ว่าจะเพื่อ “พัฒนาคุณภาพการให้บริการ” ของธุรกิจหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ กระทั่งมีผู้กล่าวว่า data is the new currencyก็คงจะไม่เกินความจริงนัก จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกคนล้วนแข่งกันเก็บและใช้ข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของตน ในการเสนอสินค้าหรือบริการให้เหนือกว่าคู่แข่ง หรือเพื่อหาประโยชน์อย่างอื่นในทางที่ไม่เหมาะสมก็ได้เช่นกัน
ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ล่าสุดที่มีบริษัทแห่งหนึ่งในต่างประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ Facebook เพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่บุคคลเหล่านั้นตอบ (เพียงกดให้ความยินยอมบน Facebook บริษัทก็สามารถเข้าถึงได้ทั้งบัญชีผู้ตอบคำถาม รวมถึงเพื่อนของผู้ตอบได้) ผลคือมีรายงานข้อเท็จจริงว่า บริษัทดังกล่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ Facebook ได้กว่า 50 ล้านบัญชี แล้วนำไปวิเคราะห์ลักษณะของบุคคล เพื่อนำเสนอเนื้อหามุ่งชี้นำให้กลุ่มบุคคลเป้าหมายใช้สิทธิเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งที่ผ่านมาให้เป็นไปตามที่ต้องการ
บทเรียนสำคัญจากเรื่องนี้คือ เราไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับเราจะถูกเข้าถึงได้ทางใดบ้าง เพราะแม้เราจะใช้ความพยายามในการป้องกันความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว ข้อมูลก็อาจจะยังรั่วไหลออกจากทางอื่น เช่น จากเพื่อนของเราได้เช่นกัน
ดังนั้น เมื่อเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าข้อมูลที่ถูกเก็บไป จะถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยใครและเมื่อไหร่การมีมาตรการคุ้มครอง หรือวิธีการป้องกัน ลดโอกาสเกิดผลกระทบจากการที่ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรา แล้วนำมาใช้ประโยชน์แทรกแซงชีวิตความเป็นอยู่เราจึงสำคัญและจำเป็นอย่างมาก
ในสหภาพยุโรปมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้บังคับกว่า 10 ปีแล้ว และจะมีกฎหมายใหม่ที่จะใช้บังคับในเดือนพฤษภาคมนี้คือ General Data Protection Regulation (GDPR) ซึ่งนอกจากจะมีหลักการทางกฎหมายที่พัฒนามาเป็นเวลายาวนาน ยังมีสิทธิใหม่ๆ ที่ทันสมัย มากขึ้น เพื่อรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลสมัยใหม่ ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ ‘Right to erasure’ หรือ ‘Right to be forgotten’ คือสิทธิที่จะถูกลืม โดยมีหลักการพื้นฐานว่าบุคคลควรมีสิทธิที่จะสั่งให้ผู้ที่เก็บข้อมูลของตนลบข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลนั้นให้หมดไป ยกตัวอย่างเช่น หากว่าจะมีการเลิกใช้ Facebook นอกจากการลบบัญชีผู้ใช้ส่วนตัวแล้วบุคคลมีสิทธิที่จะสั่งให้ Facebook ลบข้อมูลทั้งหมด ที่มีเกี่ยวกับตนออกจากฐานข้อมูลได้ เพื่อไม่ให้บริษัทนำข้อมูลเหล่านั้นไปหาประโยชน์อีก
นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวยังมีบทลงโทษที่รุนแรงหากมีการละเมิดกฎหมายคือ มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดถึง 20 ล้านยูโร หรือร้อยละ 4 ของรายรับทั่วโลกของกิจการนั้นๆ แล้วแต่ว่าจำนวนใดสูงกว่าทั้งนี้โทษปรับดังกล่าวยังไม่รวมบทลงโทษ อื่นที่ประเทศสมาชิกสามารถกำหนดได้เพิ่มเติม ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดในการส่งข้อมูลส่วนบุคคลออกไปนอกสหภาพยุโรป โดยจะไม่อนุญาตให้ส่งข้อมูลไปยังประเทศปลายทางที่ทางสหภาพยุโรปไม่รับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ด้วยเหตุนี้องค์กรหรือบริษัท เช่น สายการบินและโรงแรมนอกสหภาพยุโรปที่ทำธุรกิจกับลูกค้าจากสหภาพยุโรปและมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลส่วนบุคคล จะประสบความลำบาก แม้ว่าทางบริษัทจะสามารถขออนุญาตจากทางสหภาพยุโรปได้เป็นรายบริษัทแต่ก็จะใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง
ในโลกที่กำลังหมุนไปด้วยข้อมูล และเพื่อไม่ให้มีการนำข้อมูลไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพื่อรับมือกับปัญหานี้ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในระหว่างการยกร่าง มีหลักการโดยสังเขปเพื่อกำหนดเงื่อนไขการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยชอบ รวมถึงกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อผู้ละเมิด เช่น หลักการของการให้ความยินยอมจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนจะนำข้อมูลไปใช้ หลักการแจ้งวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลเหล่านั้น สิทธิที่ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลพึงมีต่อข้อมูล รวมถึงหน้าที่ของผู้เก็บข้อมูลที่จะต้องแจ้งต่อทางการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง หากเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้น เป็นต้น
ในประเทศไทยได้มีความพยายามจะออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยผ่านรัฐบาลมาแล้วหลายชุด แต่ขณะนี้ก็ยังคงอยู่ในกระบวนการพิจารณาอยู่ จากบทเรียนข้อมูลของผู้ใช้ Facebook กว่า 50 ล้านคนรั่ว น่าจะเป็นอีกกรณีศึกษาที่ประเทศไทยควรนำมาพิจารณา และรัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมทั้งมาตรการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพราะข้อมูลส่วนบุคคลไม่สมควรจะถูกตักตวงไปใช้ประโยชน์โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตและสิทธิในความเป็นส่วนตัวตามรัฐธรรมนูญก็ไม่ควรจะถูกละเมิด
นอกจากนี้การมีกฎหมายดังกล่าวที่ ทันสมัยจะทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรปอันจะนำมาสู่โอกาสการทำธุรกิจกับต่างประเทศอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราสมควรผลักดันกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ออกมาอย่างเร็วที่สุด
สุดท้ายนี้ เราทุกคนควรจะให้ความสำคัญต่อนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) ที่องค์กรยื่นให้อ่านก่อนการใช้สินค้าหรือบริการ โดยเฉพาะบริการที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะว่าหากเราใช้บริการใดโดยไม่ต้องจ่ายเงินแล้ว ในทางหนึ่งเราก็ไม่เป็นแค่ผู้บริโภค แต่ก็เป็นสินค้าให้คนอื่นซื้อขายไปด้วยในเวลาเดียวกัน


หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรก ในวาระทีดีอาร์ไอ กรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 29 มีนาคม 2561

แนวทางวิจัย




ปฏิรูปการศึกษา ทำอย่างไรสำเร็จได้ในชาตินี้? กว่า 20 ปีที่มีความพยายามปฏิรูปการศึกษากันหลายรูปแบบ แต่คุณภาพการศึกษาไทยกลับยังไปไม่ถึงไหน
ที่ผ่านมาการปฏิรูปการศึกษาแก้โจทย์ที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ด้วยการปรับโครงสร้างและสั่งการลงมา แต่ไม่ได้ทำใน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1) การสื่อสารสร้างความเข้าใจ และ 2) ลงมือทำเป็นตัวอย่างอย่างเป็นระบบ
แล้วการสื่อสารสร้างความเข้าใจ กับ ลงมือทำเป็นตัวอย่างอย่างเป็นระบบ เพื่อปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ในชาตินี้ ควรจะออกมาในรูปแบบหน้าตาอย่างไร
ติดตามเพิ่มเติมใน คิดยกกำลังสอง: การศึกษาไทย…ปฏิรูปได้ในชาตินี้ ออกอากาศทางไทยพีบีเอส เมื่อ 11 ธันวาคม 2560 สามารถติดตามการวิเคราะห์สถานการณ์และนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศ กับ ทีดีอาร์ไอ โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ได้ทุกวันจันทร์ในรายการคิดยกกำลังสอง ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

คุมเข้มอินเทอร์เน็ตไทย นโยบาย 4.0 ไม่มีทางเกิด





ดร.สมเกียรติ วิพากษ์อินเทอร์เน็ตไทยรัฐยิ่งปิดกั้นสื่อ ความหวังเดินนโยบาย 4.0 ไม่มีทางเกิดขึ้นแนะทางออก เปิดข้อมูลเสรี เข้าถึงง่าย นำไปต่อยอดธุรกิจได้
เมื่อวันที่  18 ก.ค. 60 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แถลงข่าวการประชุมนานาชาติ “เวทีอภิบาลอินเทอร์เน็ตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “APrIGF 2017” ณ อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอนหนึ่ง ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0กับนโยบายอินเทอร์เน็ตของไทย ว่า บทบัญญัติเรื่องของอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยน่าสนใจมาก หากเป็นต่างประเทศอินเทอร์เน็ตไม่ต้องดูเเลมากมาย ถือว่าเป็นอนุบาลอินเทอร์เน็ต หมายถึงดูเเลเล็กๆ น้อยๆ แต่เมืองไทยของเราดูเเลส่วนนี้มากเป็นพิเศษ เรียกว่าเป็นอภิบาลอินเทอร์เน็ต รัฐบาลบอกว่าไทยแลนด์ 4.0 คือยุคที่เราจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศโดยใช้ข้อมูล ใช้ความรู้เป็นปัจจัยในการผลิตหลัก แต่ว่าปัญหาใหญ่อีกอย่างคือการที่รัฐพยายามปิดกั้นการสื่อสาร
ดร.สมเกียรติ กล่าวถึง นโยบาย OTT(Over-The-Top) หรือ การให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตโดยที่ผู้ให้บริการไม่ได้ลงทุนหรือเป็นเจ้าของโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ว่า ความเข้าใจแรกนึกว่าเป็น Over-Takorn-Tantasith เพราะว่าคนสั่ง OTT ไม่ใช่คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ (เลขาธิการ กสทช.) แต่เป็นคนที่เหนือกว่า ซึ่งนโยบายดังกล่าวถือเป็นการปิดกั้นการสื่อสารแบบหนึ่ง ความไม่เข้ากันกับบริบทของไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งวิธีการหลักคือการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น โครงการ ECC เพราะจะหวังรอสตาร์ทอัพเมืองไทยในการขับเคลื่อนอย่างเดียวก็ไม่ทัน
ดร.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ประเด็นนโยบาย4.0 และ นโยบายอินเทอร์เน็ตต้องไปด้วยกันให้ได้ เพราะนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตโดยตรงมีความกังวลอย่างมาก จากการปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งความกังวลที่ว่าไม่ใช่เพียงแค่บริษัทจากฝั่งตะวันตกอย่าง กูเกิ้ล หรืออื่นๆ แต่รวมถึงบริษัทในโลกตะวันออกด้วย เพราะเขาห่วงเรื่องสิทธิเสรีภาพมาก แต่เดิมเราคิดว่าเรื่องนี้ คนที่ให้ความสำคัญมากคือชาติตะวันตก แต่วันนี้ไม่ใช่อย่างนั้นเเล้ว
“หากนโยบายไทยแลนด์4.0 ไม่เปิดกว้างในเรื่องการสื่อสาร ประเทศไทยจะไม่ประสบความสำเร็จในการดึงดูดนักลงทุนหน้าใหม่ เราอาจว่า จีนไม่ได้เปิดกว้างทางอินเทอร์เน็ตแต่ทำไมถึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจด้านนี้ได้ ไทยจะสามารถใช้โมเดลอภิบาล แบบจีนได้ค่อนข้างยาก เพราะไทยไม่ใช่ตลาดใหญ่ ที่ไม่ต้องง้อต่างชาติ  ตลาดจีนใหญ่พอที่จะไม่ต้องง้อ”
ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงโอกาสที่ไทยจะสามารถปรับปรุงนโยบายตรงนี้ได้ คือ ภาครัฐต้องเผยแพร่ข้อมูล ในลักษณะ Open DATA หมายถึงไม่ต้องเสียเงินในการเข้าถึง เพราะวันนี้เราต้องจ่ายเงินจำนวนมากในการเข้าถึงข้อมูล เช่นข้อมูลการสำรวจครัวเรือนต่างๆ ข้อมูลการจดทะเบียนธุรกิจ ที่จะสามารถนำไปต่อยอดสตาร์ทอัพต่างๆ ได้ ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่เข้าถึงได้อย่างถูกๆ รวมไปถึงข้อมูลบางส่วนที่เปิดที่เข้าถึงยากมาก เช่น ข้อมูลการถือครองที่ดิน และยังมีข้อมูลที่เปิดแต่คอมพิวเตรอ์อ่านไม่ได้ เช่นอยู่ในรูปของไฟล์ PDF ซึ่งไม่สามารถประมวลทางคอมพิวเตอร์ได้ และบางส่วนเปิดข้อมูลแต่ไม่มีรายละเอียด
“ข้อมูลที่จะส่งผลดีต่อการต่อยอดธุรกิจ ต้องเป็นข้อมูลเปิด ละเอียด มีวิธีการบริหารจัดการระหว่างความเป็นส่วนตัว (Privacy) กับการใช้ประโยชน์”ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวและว่า  หากภาครัฐอยากเห็นไทยแลนด์ 4.0 เกิดขึ้น ดูเหมือนต้องปรับเปลี่ยนนโยบายหลายเรื่อง เทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด องค์กรเอกชนต่างๆ พยายามปรับตัวด้วยความเร็วเเบบค่อยๆ ไป แต่ที่น่าหนักใจคือ หากรัฐไม่ปรับตัวให้ทันอย่างน้อยในขั้นธุรกิจ โอกาสที่จะไปถึงไทยแลนด์ 4.0 เป็นไปได้ยาก
ดร.สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลอยากเห็นไทยแลนด์ 4.0 เกิดขึ้น จึงสนับสนุนธุรกิจใหม่ๆ เช่นสตาร์ทอัพ ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ตั้งกองทุนสนับสนุน โดยหวังว่าจะขับเคลื่อนสตาร์ทอัพ เพื่อให้สตาร์ทอัพได้ขับเคลื่อนประเทศ แต่ว่าสตาร์อัพของไทยยังแบเบาะ คนไทยมีความเป็นผู้ประกอบการ ความสามารถทางเทคโนโลยีไม่สูงเท่าไหร่  เพราะฉะนั้นนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงเป็นการจุดประกายให้คนไทยหันมาสร้างนวัตกรรม เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ข้อมูลสารสนเทศมากขึ้น แต่ประเด็นคือ เราจะสร้างสตาร์ทอัพอย่างไร ในเมื่อบริการด้านอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยติดกฎระเบียบหมดเลย
“ถ้ามีแต่ห้ามแล้วเราจะเอาไอเดียไหนมาทำสตาร์ทอัพ สตาร์ทอัพไม่ใช่ของที่อยู่ดีๆ นึกได้ในห้องเรียน แล้วออกมาได้เลยต้องอาศัยการลองถูกลองผิดถ้าสตาร์ทอัพไม่เกิดในไทย บางทีโจทย์อาจไม่อยู่ที่ว่าเราไม่มีเงินทุน แต่เพราะเราไม่มีเวทีให้คนไทยได้ลองผิดลองถูก” ดร.สมเกียรติ กล่าว

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรก โดย สำนักข่าวอิศรา เมื่อ 18 กรกฎาคม 2560 ในชื่อ ดร.สมเกียรติชี้รัฐยิ่งปิดกั้นสื่อนโยบาย 4.0 ไม่มีทางเกิด

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Tool-Mediated Authentic Learning in an Educational Technology Course: A Designed-Based Innovation

Tool-Mediated Authentic Learning in an Educational Technology Course: A Designed-Based Innovation
Amory, Alan
Interactive Learning Environments, v22 n4 p497-513 2014
This design-based research project is concerned with the design, development and deployment of interactive technological learning environments to support contemporary education. The use of technologies in education often replicates instructivist positions and practices. However, the use of Cultural Historical Activity Theory (C), authentic learning (A), and educational technologies as tools (T) to mediate learning provides an integrated CAT framework to design and use learning experiences that transform not only individuals but also their world view. The work reports on the design, redesign, and evaluation of an honors course on the use of information communication technologies in teaching and learning. Analyses identified a number of design principles useful in conceiving learning tasks to support the theoretical framework. The CAT framework fosters the use of learning mediation through the use of educational tools that support collective knowledge construction of individuals and their communities, rather than replicate the use of technology for instruction.
Routledge. Available from: Taylor & Francis, Ltd. 325 Chestnut Street Suite 800, Philadelphia, PA 19106. Tel: 800-354-1420; Fax: 215-625-2940; Web site: http://www.tandf.co.uk/journals
Publication Type: Journal Articles; Reports - Research
Education Level: Higher Education; Postsecondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: N/A

Authentic Instruction and Technology Literacy

Authentic Instruction and Technology Literacy
Cydis, Susan
Journal of Learning Design, v8 n1 p68-78 2015
Technology integration is an important aspect of student competence in the 21st century. The use of technology in teaching and learning is a valuable practice for supporting student learning and engagement. Modelling the pedagogical practices that integrate authentic, performance-based opportunities for technology integration was the focus of a project designed to support future teachers with acquiring these same pedagogical practices. The project was an opportunity to demonstrate value for a competency-based approach to teacher education that integrates technology literacy as a required component of teaching and learning in the 21st century. It explored the extent to which preservice teachers integrated technology tools in the lesson plans they created. The use of various self-selected technology tools using this approach served as an illustration of the important aspects of sound instructional pedagogy including authentic learning, technology integration and performance-based learning.

It Doesn't Matter What Is in Their Hands: Understanding How Students Use Technology to Support, Enhance and Expand Their Learning in a Complex World
Bryant, Peter
International Association for Development of the Information Society, Paper presented at the International Association for Development of the Information Society (IADIS) International Conference on Educational Technologies (5th, Sydney, Australia, Dec 11-13, 2017)
Perspectives on the use of technology in teaching and learning have been increasing polarised, with positions entrenched around the efficacy of using technology in lectures, the distractions assumed to arise from social media and the temporality and ephemerality of knowledge located outside the academy. This paper presents the preliminary collective findings from several analytical projects arising from an innovative consultation project at the London School of Economics called LSE2020. This project was a central component of how we designed and delivered the strategic implementation of pedagogical change at the School. It sought to identify barriers and opportunities that can emerge from the integration of technology at a curricular and delivery level. The primary finding of the study is that students used and valued the effectiveness and benefit of the technologies that were provided to them by the institution and technology they chose to use themselves in different ways. The technology provided by the institution such as the Virtual Learning Environment and lecture recording facilitated actions aligned with the necessity to succeed, whilst their own technologies were part of wider approach to understanding and coping with the intersecting pressures of personal, professional and educational lived experiences. [For the complete proceedings, see ED579282.]

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โปรแกรม e-office



                       นายสงกรานต์  ขจรนาม  M.ed.4  เลขที่  19

                                                                 
                                                              ระบบสารสนเทศ



1.ประวัติความเป็นมาของระบบสำนักงานอัตโนมัติ

           ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าพัฒนาการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นผลทำให้โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคของข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่ที่ส่วนใดของโลกก็สามารถติดต่อโทรศัพท์พูดคุยกันได้เสมือนนั่งอยู่เคียงข้างกัน พัฒนาการของการสื่อสารกำลังทำให้วิถีการทำงานบางอย่างของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มีการใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้เองธุรกิจที่แข่งขันจำเป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก เพื่อการตัดสินใจ และเพื่อให้บริการที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว

           ยุคของสารสนเทศได้ก้าวหน้าและเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เราเริ่มรู้จักคำว่าเอทีเอ็มการใช้เครดิตการ์ด การสื่อสารผ่านบูเลตินบอร์ด อิเล็กทรอนิกส์เมล์ และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังได้ยินได้ฟังคำว่าโอเอ (OA) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ ระบบตึกหรืออาคารอัจฉริยะ เป็นต้น บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีกำลังก้าวเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว

           หากมองให้ลึกลงไปอีกสักนิดพบว่า บนความสำเร็จของเทคโนโลยีทางด้านข่าวสารเกือบทุกประเภท อยู่บนฐานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล จนมีผู้กล่าวว่ายุคสารสนเทศในปัจจุบันฝากไว้กับเทคโนโลยี C & C (Computer and Communication)

2.ความหมายของ E-Office
    
          สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) คือ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็คโทนิค การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย
          ระบบสำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) รวม ถึง ระบบข้อมูลสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่มีจุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย, คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่งหลายปีที่ผ่านมา สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) ถูก มองว่า มีเพียงหน้าที่แก้ปัญหาในการทำงาน แต่ในปัจจุบัน ระบบที่ช่วยเสริมการติดต่อ สื่อสารในสถานที่ทำงาน ถูกมองว่ามีความสำคัญ และต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับเดียวกับระบบ TPS, MIS และ ISS
          สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) ใน ปัจจุบัน ดูเหมือนกับไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ แตกต่างจากสำนักงานที่ใช้เพียงเครื่องจักรกล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องยนต์ กลไล และ ระบบไปรษณีย์ เป็นความหมายหลักของการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเรื่องน่าทึ่งที่ยังรอคอยเราอยู่ เรากำลังจะได้เริ่มเห็นบทบาทของ บริษัทเสมือนจริง ซึ่งสามารถทำให้ เราทำงานได้ในทุกแห่ง ปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่

3.วัตถุประสงค์ในการจัดการ E-Office

          คือการจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในการรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์หาวิธีการ แก้ปัญหาที่เป็นไปได้และเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบวัตถุประสงค์การนำสำนักงานอัตโนมัติมาใช้คือ
          1. ต้องการความสะดวก
          2. ต้องการสั่งผ่านสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
          3. เพื่อลดปริมาณคนงาน และปริมาณงานด้านเอกสาร
          4. ต้องการความยืดหยุ่น
          5. เพื่อที่จะสามารถขยายงานต่อไปได้ในอนาคต

4.เป้าหมายของ E-Office

            การเพิ่มคุณค่าหรือมูลค่าของสิ่งของที่มีอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งบุคลากรทุกคนได้องค์กรสามรถเข้าถึงได้ง่าย  และยังแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าการส่งเอกสารระหว่างกันจะรวดเร็ว  แม้การส่งข้ามวิทยาเขตก็ทำได้ส่งผลให้การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานประโยชน์ในเรื่องความเร็วและเวลาการจัดเอกสารเป็นหมวดหมู่และเรียกใช้เอกสารย้อนหลังได้ง่าย  โดยใช้ระบบค้นหาเอกสารการลดกระดาษ  การลดพื้นที่เก็บเอกสารหากลดการใช้กระดาษย่อมหมายถึงการลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก

5.ประโยชน์ของ E-Office

          ประโยชน์ที่หน่วยงานจะได้รับจากการดำเนินการ e-Office คือ การเพิ่มคุณค่า หรือมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว และเราสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้งานระบบ e-Office และการหันมาใช้งานระบบนี้ไม่ต้องเพิ่มทุนมากนักเพราะทรัพยากรหลัก ๆ เป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในองค์กร ทุกวันนี้มีเครือข่ายที่เป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ เป็นเครือข่ายที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นเครือข่ายที่ใช้ประโยชน์และแสดงความก้าวหน้าขององค์กรมากมาย การเพิ่มงาน e-Office จึงเป็นการเพิ่มโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มมากนัก การทำงานภายในขององค์กรจะรวดเร็วขึ้น การส่งเอกสารระหว่างกันจะรวดเร็ว แม้การส่งข้ามองค์กรก็จะไปได้ทันที ส่งผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมดีขึ้น การเน้นในเรื่องความเร็วและเวลาเป็นสิ่งที่ได้ประโยชน์อย่างชัดเจน การจัดการเอกสารจะดีขึ้น จะมีการจัดหมวดหมู่และเรียกใช้เอกสารย้อนหลังได้ง่ายขึ้น ระบบการค้นหาเอกสารจะทำให้เข้าถึงเอกสารในรายละเอียดได้มากขึ้น สิ่งสำคัญอย่างมากคือ การลดกระดาษ การลดพื้นที่การเก็บเอกสาร หากลดการใช้กระดาษ ย่อมหมายถึงการลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงไปได้มาก สามารถสรุปได้ดังนี้
        1.สั่งการ และติดตามเรื่องได้ง่าย เป็นระบบ และรวดเร็ว
        2.มีการประสานงานด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นหนึ่งเดียว ระบบงานองค์กรช่วยให้องค์กรมีระบบการทำงานที่สามารถประสานงานระหว่างกันได้เสมือนว่าเป็นระบบเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และการรวบรวมความเห็นจากคนหมู่มากทำได้เร็ว
        3.จัดเก็บเอกสารในระบบดิจิตอลซึ่งปลอดภัย และสืบค้นได้ง่าย ซึ่งมีมาตรฐานเดียวกันสามารถนำไปใช้กับระบบสารสนเทศในทุกส่วนขององค์กรได้เหมือนกัน
        4.การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และกระบวนการทำงานขององค์กรสามารถกระตุ้นการทำงานภายองค์กรให้มีมากขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารยังสามารถ ค้นเอกสารได้เอง โดยสะดวก รวดเร็ว
        5.ไม่จำกัดเวลาทำงาน และสถานที่
        6.ลดขั้นตอนของการทำงาน
        7.โปร่งใส

6.ข้อดี-ข้อเสีย ของ E-Office

ข้อดีของสำนักงานอัตโนมัติ

    1. ได้ข้อมูลรวดเร็วทันทีกับความต้องการ
    2. ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องมากขึ้น
    3. ประหยัดเวลาและค่าใช่จ่ายในด้านแรงงาน
    4. เพิ่มประสิทธิภาพด้านการติดต่อสื่อสาร
    5. ลดงานในการควบคุมที่ไม่จำเป็น
    6. เกิดการควบคุมงานในภาพรวมดีขึ้น เพราะคุณภาพงานสูงขึ้น
    7. ช่วยปรับปรุงขวัญและกำลังใจในการทำงานและเพิ่มความพึงพอใจในงาน

ข้อเสียในการใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

    1. เครื่องใช้สำนักงานส่วนใหญ่ต้องใช้กระแสไฟฟ้า หากไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถใช้เครื่องมือ หรือออุปกรณ์ได้
    2. หน่วยงานที่อยู่ห่างไกลมีอุปสรรคมากเช่นไม่มีระบบไฟฟ้า(ใช้อุปกรณ์ไม่ได้) ไม่มีโทรศัพท์(ใช้ระบบสื่อสารไม่ได้)
    3. เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีปัญหาแทรกซ้อนในเรื่องไวรัสมากมาย บางครั้งอาจทำให้ข้อมูลที่บันทึกไว้หายไปหมด
    4. เครื่องใช้ อุปกรณ์มีราคาแพง
    5. ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะในการใช้เครื่องมือ
    6. เครื่องมือเทคโนโลยี สื่อสมัยใหม่มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงเร็ว ล้าสมัยเร็ว
    7. เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูงส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยต้องเสียดุลการค้า
    8. ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีลิขสิทธิ์การนำมาใช้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง

ข้อควรพิจารณาในการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ในสำนักงานมีดังนี้
           
    1. การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้
    2. การออกแบบระบบและอุปกรณ์อัตโนมัติ
    3. การจัดหาอุปกรณ์และระบบอัตโนมัติ
    4. การนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาติดตั้งในสำนักงาน
    5. การประเมินผลและบำรุงรักษาระบบ



    ** สำนักงานที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานเกี่ยวกับงานสำนักงาน เพื่อให้ได้สารสนเทศ มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ ในการบริหารให้ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์และมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดน้อย

    1.ระบบการจัดการเอกสาร ได้แก่  การผลิตเอกสารและนำเสนอ

        -การประมวลคำ (Word  Processing)
        -การจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)
        -การใช้ตารางอิเล็คทรอนิคส์  (Electronic Spreadsheet)
        -งานด้านการเก็บข้อมูล (Database)
        -การนำเสนอผลงาน (Presentation)
        -ระบบการประมวลภาพ(Image Processing System)
เป็นระบบที่มีการประมวลผลโดยอาศัยรูปภาพ โดยการอาศัยอุปกรณ์ในการสแกนภาพเข้าไปในคอมพิวเตอร์
        -การทำสำเนาเอกสาร(Reprographics)
เป็นกระบวนการทำสำเนาเอกสารต่าง ๆ  เพื่อที่จะสามารถแจกจ่ายเอกสารให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็ว

        -หน่วยเก็บข้อมูลถาวร(Archival Storage)
ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ  ได้ถูกเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง  เช่น  จานแม่เหล็ก  (Disk)  แผ่นแม่เหล็ก  (Diskette)  เทปแม่เหล็ก

    2.ระบบจัดการข่าวสาร

        ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิคส์ (Electronic mail : E-mail)
การส่งข่าวสารไปยังบุคคลอื่น . โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์  โมเด็ม  และสื่อในการติดต่อ  เช่น  สายโทรศัพท์ และอาศัยที่อยู่ในรูปของไปรษณีย์อิเล็คทรอนิคส์ เช่น XXX@mail.rid.go.th สมัครเป็นสมาชิกกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ ในปัจจุบันมีเว็บไซด์ที่ให้บริการฟรี เช่น www.ikool.com www.yahoo.com www.hotmail.com
        กระดานข่าว(Web Board) การฝากข่าวสารผ่านทางเครือข่ายถึงผู้รับ เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งซี่งผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ กระดานข่าวสามารถใช้ได้ทั้งอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต
        ไปรษณีย์เสียง ( Voice mail )
เป็นระบบที่ช่วยเก็บเสียงพูดของผู้ใช้โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามา  โดยที่เราไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานหรือสำนักงาน
        โทรสาร (Facsimile)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งข้อความ  รูปภาพ  จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  โดยอาศัยเครื่องโทรสารและสายโทรศัพท์
    
    3.ระบบประชุมทางไกล

        -การประชุมด้วยเสียง (Audio teleconferencing)
เป็นการประชุมทางไกลหรือการติดต่อสื่อสารทางไกล  โดยคู่สนทนาจะสามารถได้ยินแต่เพียงผู้ที่เกี่ยวข้องในการประชุมเท่านั้น
        -การประชุมด้วยภาพ (Video teleconferencing)
เป็นการประชุมทางไกล  โดยผู้ร่วมประชุมสามารถที่จะติดต่อพูดคุยกันได้  โดยผู้สนทนาจะได้ยินเสียงและภาพของคู่สนทนาในขณะที่มีการประชุม
        -โทรทัศน์ภายใน (In house television)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อทางธุรกิจ  โดยสำนักงานจะมีการกระจายข่าวให้สมาชิก  เพื่อเอื้ออำนวยในการติดต่อสั่งซื้อสินค้า  โดยผ่านโทรทัศน์ที่เป็นช่วงสถานีของสำนักนั้น
        -การทำงานทางไกล (Telecommuting)
เป็น เทคโนโลยีที่ใช้ติดต่อระหว่างบ้านกับสำนักงาน โดยผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานที่บ้านแล้วส่งงานดังกล่าวไปยังที่ทำงาน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับคอมพิวเตอร์ของสำนักงาน เพื่อเข้าไปใช้โปรแกรม
    
    4.ระบบสนับสนุนสำนักงาน

    ระบบเครือข่าย(Network)
        -อินทราเน็ต (Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร
        -อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ ระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถทราบข้อมูลที่ต้องการจากทั่วโลกได้โดยไม่จำกัดผู้ใช้งาน
    ระบบแสงสว่าง 
แสงสว่างที่พอเหมาะจะมีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้ดีขึ้น  ลดความเมื่อยล้าของดวงลง
    ระบบไฟฟ้า
เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า (Voltage Stabilizer) เครื่องรักษาสภาพไฟฟ้า (Line Conditioner) และเครื่องสำรองไฟ (Uninteruptable Power system) เป็นต้น
    ระบบรักษาความปลอดภัย
หมาย รวมถึง การป้องกันอัคคีภัย การโจรกรรม และการทุจริตในการทำงาน . เช่น อุปกรณ์ตรวจสอบผู้ที่ผ่านเข้า-ออก โดยใช้บัตรผ่าน โทรทัศน์วงจรปิด
    การวางผังห้องทำงาน
การวางผังอุปกรณ์สำนักงานและโต๊ะทำงานให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีลำดับโต๊ะตามสายงาน จะช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น


โปรแกรมบริหารสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office Programming Management)

        รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด
สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) หรือ สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) เป็นสำนักงานที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายในการจัดการเอกสาร การติดต่อสื่อสาร การตรวจสอบข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการอนุญาตให้บุคลากรในองค์กร สามารถทำงานจาก ระยะไกล หรือ ในตำแหน่งใดๆในสำนักงานได้โดยมีระบบตรวจสอบตำแหน่งที่ทำงานของพนักงาน ผู้นั้นเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถติดต่อกลับได้ลอดเวลา












        โปรแกรมบริหารสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office Programming Management) ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม PHP โดยใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL ประกอบด้วยระบบบริหารดังนี้

    -ระบบพิมพ์สลิปเงินเดือน (e-account)
    -ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-filing)
    -ระบบจองห้องประชุม (e-booking-room)
    -ระบบจองรถส่วนกลาง (e-booking-car)
    -ระบบบริหารโครงสร้างองค์กร (e-organization)
    -ระบบยื่นใบลา (e-leave)
    -ระบบฝากข้อความ (e-messenger)
    -ระบบสถิติการใช้งาน (e-statistic)
    -ระบบมอบหมายและติดตามงาน (e-entrust2follow-up) อยู่ระหว่างดำเนินการ
    -ระบบนัดหมาย (e-schedule) อยู่ระหว่างดำเนินการ







บทเรียนใหม่ของสังคมข้อมูล 29 มีนาคม 2018 บทความ ,  การปฏิรูปกฎหมาย ,  ประเด็นวิจัย ,  ทีดีอาร์ไอชวนอ่าน กฎหมาย ,  ดร.กิริฎา เภาพิจ...